ทุกคนรู้ดีว่ามนุษย์มีความต้องการสิ่งเหล่านี้ในการดำรงชีวิตโดยใช้ น้ำ,ออกซิเจน, อาหาร , ที่พักอาศัย ฯลฯ เช่นเดียวกับผักและผลไม้
หลังจากเก็บเกี่ยวผลิตผลแล้วจะถึงอายุที่เรียกว่าอายุหลังการเก็บเกี่ยว (หรือเรียกว่า อายุการเก็บรักษา) ซึ่งหมายความว่าหากเงื่อนไขนั้นถูกต้อง ผลิตภัณฑ์จะยังคงสภาพและสดใหม่ไปตามจำนวนวันหรือสัปดาห์ที่กำหนดเพื่อเหมาะสำหรับการจำหน่ายและบริโภค
ยกตัวอย่าง ลูกพีช จะมีอายุหลังจากเก็บเกี่ยว 14-28 วัน หากได้รับการจัดเก็บอย่างเหมาะสมหลังจากการเก็บเกี่ยว ด้วยความชื้นสัมพัทธ์, อุณหภูมิและป้องกันจากการสัมผัสก๊าซเอทิลีนที่เป็นอันตราย ลูกพีชจะยังคงขายและรับประทานได้ต่อไปสูงสุดถึง 4 สัปดาห์
อย่างไรก็ตามหากมีการควบคุมปัจจัยที่ผิดพลาดเพียง 1 ใน 4 ประการนั้น ไม่เป็นไปตามที่กำหนด อายุผลผลิตนั้นจะลดลงอย่างรวดเร็ว การตัดปัจจัยการควบคุมออกมากกว่า1 ปัจจัย อาจหมายความว่าลูกพีชจะมีอายุอยู่แค่ 1-2 วันเท่านั้น นั่นเป็นการสูญเสียเลยทีเดียว
แน่นอนว่าเราได้เจอวิธีการเก็บรักษาหลังเก็บเกี่ยวสินค้าที่เน่าเสียง่ายและคุณ หาวิธีการเก็บรักษาที่เหมาะสม (ระดับความชื้นสัมพัทธ์ อุณหภูมิ
ความไวต่อเอทิลีน) ของผลไม้หรือผักแต่ละชนิด ด้วยความรู้ การวางแผนและเครื่องมือการจัดเก็บผลิตผลหลังการเก็บเกี่ยว เราจะสามารถตอบสนองปัจจัยที่ทำให้ผลิตภัณฑ์เน่าเสียได้ง่าย
- ลูกพีชจะมีอายุอยู่ได้ 28 วัน โดยที่การควบคุม ใน4ประการนี้อย่างเหมาะสม อุณหภูมิ + 6°C ความชื้นสัมพัทธ์ 90-95% RH
- ลูกพีชจะมีอายุอยู่ได้ประมาณ 14 วัน โดยการเก็บไว้ที่ + 6°C ความชื้นสัมพัทธ์ 35% RH (อายุการเก็บรักษาลดลง 50% ถ้าไม่ควบคุมความชื้นสัมพัทธ์)
- ลูกพีชสามารถอยู่ได้เพียง 7 ถ้าควบคุมอุณหภูมิและก๊าซเอทิลีน แต่ความชื้นสัมพัทธ์ไม่เหมาะสม
- อายุของลูกพีชจะอยู่ที่ 3-4 วัน ถ้าไม่ควบคุมอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์และก๊าซเอทิลีน
- อายุของลูกพีชจะลดเหลือ 1-2 วัน หากจัดการอย่างไม่เหมาะสม(หมายถึงการขนส่ง,เคลื่อนย้ายด้วยความรุนแรง ทำให้เกิดการช้ำของผลไม้และจากการไม่ควบคุมอุณหภูมิ ความชื้นและก๊าซเอทิลีน
การควบคุมทั้ง 4 ประการ
1.อุณหภูมิ
การใช้อุณหภูมิที่ต่ำในการจัดเก็บการผลิตภัณฑ์ สามารถชะลอการเน่าเสียและยืดอายุของผลิตผล การสังเคราะห์ด้วยแสงซึ่งเป็นหน้าที่หลักของพืชนั้นอยู่ในธรรมชาติไม่เพียงแค่ใช้แสงจากดวงอาทิตย์เท่านั้นแต่รวมถึงความร้อนด้วย
อุณหภูมิที่เย็นลงหมายถึงอัตราการสังเคราะห์ช้าลง อัตราการระเหยจากผิวของพืชจะเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าจากการที่อุณหภูมิเพิ่มขึ้นทุก 10◦C (50◦F)
อุณหภูมิที่ต่ำกว่าจะช่วยยับยั้งสิ่งที่เรียกว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพของผลิตผล
Climacteric fruit หมายถึงผลไม้ที่มีอัตราการหายใจเปลี่ยนแปลงตามอายุ คือช่วงการหายใจที่เพิ่มขึ้นจะทำให้ผลไม้สุกเร็ว อายุการเก็บก็จะสั้นลง อุณหภูมิที่ลดลงจะช่วยชะลอการบวนการนี้ เพื่ออายุการเก็บเกี่ยวที่เหมาะสมที่สุด
2.ก๊าซเอทิลีน
ก๊าซเอทิลีน (C2H4) เป็นตัวทำให้สุกซึ่งผลิตโดยเนื้อเยื่อพืชทุกชนิดเมื่อผักและผลไม้เติบโตในดิน เอทิลีนจึงมีหน้าที่บทบาทสำคัญในการในวงจรการเจริญเติบโต เอทิลีนช่วยทำให้ผลไม้มีสีสันและอร่อย ดึงดูดสัตว์ให้กินผลไม้และกระจายเมล็ดของมัน
อย่างไรก็ตาม หลังการเก็บเกี่ยวเอทิลีน อาจเป็นศัตรูตัวฉกาจของพืชได้ ปริมาณปริมาณเอทิลีนในอากาศเพียง 1 ในล้านส่วน (PPM) จะช่วยเร่งการสุกของพืชและทำให้พืชมีการเสี่ยงค่อโรคมากขึ้น เนื่องจากพืชผลิตเอทิลีนแม้หลังเก็บเกี่ยวแล้ว เอทิลีนยังสามารถแพร่ไปยังภายนอก การจัดเก็บในที่จำกัดจึงเต็มไปด้วยก๊าซเอทิลีน หากไม่มีการจัดการเอทิลีนหลังจากการเก็บเกี่ยวที่เหมาะสมของผักและผลไม้ อายุของผลผลิตจะลดลงเหลือเพียงไม่กี่วัน
3 ความชื้น
ความชื้นเป็นส่วนประกอบของการสังเคราะห์แสง ซึ่งเกิดขึ้นแม้หลังการเก็บเกี่ยว พืชจะดึงน้ำผ่านร่างกายและไปยังพื้นผิวผ่านช่องเปิดเล็กๆที่เรียกว่าปากใบ การระเหยจะเกิดขึ้นทุกทีที่น้ำสัมผัสกับอากาศและพืชจะสูญเสียความชื้นอย่างต่อเนื่อง ในพื้นที่การจัดเก็บในตู้เย็นอากาศที่เคลื่อนที่อย่างรวดเร็วจะช่วยเร่งกระบวนการนี้
หลังจากการเก็บเกี่ยวพืชจะไม่สามารถดึงน้ำจากพื้นดินและเพิ่มปริมาณความชื้นได้อีกต่อไป ดังนั้นการรักษาอัตราการระเหยให้ต่ำลงจึงเป็นสิ่งสำคัญ
ความชื้นสัมพัทธ์ที่สูงขึ้นรอบๆพื้นผิวของพืชจะทำให้อัตราการระเหยช้าลงและปล่อยให้พืชคงระดับความชุ่มชื้นไว้ได้
4 การสัมผัสด้วยมือ(จากการจับ,บีบ,ยก, กระแทก)
การสัมผัสด้วยมือดูเป็นพื้นฐานที่สุดในการควบคุมทั้ง 4 แบบ อย่างไรก็ตามการสัมผัสนี้ค่อนข้างสำคัญการบาดเจ็บทางกลไกลในการผลิต รวมทั้งบาดแผล การบีบ การกระแทก ทำให้เกิดการบาดแผลและช้ำแก่ผลผลิตได้ ผลิตผลหนึ่งชิ้นหรือทั้งกล่องสามารถถูกทำลายได้ด้วยผลไม้ที่ช้ำเพียงลูกเดียว อย่างน้อยที่สุดอายุการใช้งานทางการตลาดก็ลดลงอย่างมาก ต้องใช้ความเอาใจใส่อย่างระมัดระวังในการบรรจุและวิธีการขนส่งเป็นอย่างมาก แนวทางการบรรจุและเคลื่อนย้ายมีดังนี้
- จ้างการควบคุมดูแลและจัดการการขนถ่าย
- ใช้ช่องโหลดสินค้าที่มีความลาดเอียง
- จัดให้มีที่บังแสงแดดและฝนในบริเวณขนย้าย
- ใช้รถเข็น สายพานลำเลียงและรถยกเพื่อการขนย้ายที่เร็วขึ้น
- บรรจุกล่องให้แน่นเพื่อใช้พื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
- อย่าบรรจุกล่องลังมากเกินไป
- จัดให้มีช่องว่างสำหรับการระบายอากาศเพื่อหลีกเลี่ยงความร้อนที่สูงเกินไป
- ใช้ภาชนะที่แข็งแรงพอที่จะวางซ้อนได้หลายชั้น
- เลือกคนขับที่มีประสบการณ์เมื่อต้องขนส่งทางไกล
- กระจายน้ำหนักให้เท่าๆกัน
อ้างอิง : เอกสาร Postharvest Lifelines A Guide to Making Perishables Last Longer