ห้องเย็นนั้นมีกี่ประเภท?

ห้องเย็นนั้นมีกี่ประเภท

ห้องเย็น แช่เย็นเฉียบพลัน (Air Blast Chill Room)
ห้องเย็นประเภทนี้มีไว้สำหรับลดอุณหภูมิ เพื่อรอกระบวนการต่อไป หรือ เพื่อควบคุมเชื้อแบคทีเรีย หรือเพื่อให้เชื้อเอมไซน์ย่อยเนื้อในกระบวนการผลิตเนื้อสัตว์ ส่วนใหญ่ห้องเย็นเฉียบพลันจะมีข้อกำหนดของเวลาเข้ามาด้วย อุณหภูมิใช้งานที่ต้องการส่วนใหญ่ประมาณ 2-10 องศาเซลเซียส หรือขึ้นอยู่กับสินค้า

ห้องเย็น แช่แข็ง (Freezer Room)
ห้องเย็นประเภทนี้เป็นห้องที่มีไว้สำหรับลดอุณหภูมิและเก็บสินค้าในช่วงเวลานาน ๆ ที่อุณหภูมิต่ำกว่าจุดเยือกแข็งของตัวสินค้านั้น ๆ เช่น ปลาแช่แข็งเก็บรักษาที่อุณหภูมิ -17.8 ถึง -23.3 องศาเซลเซียส สามารถเก็บรักษาได้ระยะเวลา 8-10 เดือน อุณหภูมิใช้งานที่ต้องการส่วนใหญ่ ประมาณ -5 ถึง -25 องศาเซลเซียส หรือขึ้นอยู่กับสินค้า

ห้องเย็นเก็บรักษาสินค้า (Cold Storage Room)
ห้องเย็นประเภทนี้มีไว้สำหรับเก็บรักษาสินค้าซึ่งสินค้าถูกผ่านการแช่แข็งมาแล้ว โดยสินค้าที่นำมาเก็บมีอุณหภูมิต่ำกว่า หรือเท่ากับ อุณหภูมิของห้องเก็บรักษาสินค้าในการคำนวณโหลดทำความเย็นไม่จำเป็นต้องคิดค่าความร้อนจากตัวสินค้า อุณหภูมิใช้งานที่ต้องการส่วนใหญ่ ประมาณ -25 องศาเซลเซียสหรือขึ้นอยู่กับสินค้า

ห้องเย็นแช่แข็งลมเย็นจัด (Air Blast Freezer Room)

ห้องเย็นประเภทนี้มีไว้สำหรับ Freeze สินค้าให้เย็นเร็ว โดยไม่ทำให้เซลล์เกิดความเสียหาย การ Freeze สินค้าในแต่ละประเภท จะแตกต่างกัน เช่นการ Freeze ผักและผลไม้จะต้อง Freeze เร็วไม่ทำให้ผนังเซลล์แตก ซึ่งการที่เซลล์แตกเกิดจากน้ำในเซลล์เปลี่ยนสถานะจากของเหลวเป็นของแข็ง (เกล็ดน้ำแข็ง) หรือการ Freeze อาหารทะเลส่งออกจะต้องพยายามไม่ทำให้เกิดเกล็ดน้ำแข็งภายในเนื้อเซลล์ เพราะจะทำให้เซลล์ช้ำ โดยทั่ว ๆไปห้องแช่แข็งลมเย็นจัด จะมีขนาดความจุของสินค้าได้ 2.5 ตัน จะใช้เวลาในการ Freeze ประมาณ 4-5 ชม. โดยข้อกำหนดจะต้องดึงอุณหภูมิได้ไม่เกิน 6 ชม. อุณหภูมิใช้งานที่ต้องการส่วนใหญ่ ประมาณ -35 องศาเซลเซียสหรือขึ้นอยู่กับสินค้า

ห้องเย็นพักสินค้า (Anti Room)
ห้องเย็นชนิดนี้มีไว้สำหรับลดอุณหภูมิของอากาศภายนอกที่มีอุณหภูมิไหลเข้าห้องแช่แข็งลมเย็นจัด (Air Blast Freezer Room) หรือห้องเก็บที่มีอุณหภูมิต่ำ ๆ ห้องนี้บางครั้งก็มีไว้สำหรับพักสินค้า หรือกระจายสินค้าบ้างในตัวเอง อุณหภูมิส่วนใหญ่จะอยู่ที่ประมาณ -5 ถึง 10 องศาเซลเซียสหรือขึ้นอยู่กับชนิดของสินค้านั้น ๆ

ประเภทของห้องเย็นนิยมนำมาใช้งาน

ห้องเย็น สำหรับเก็บผัก ผลไม้สด ( Chill Room )

ห้องเก็บผัก และผลไม้สดทั่วไป ( Chill Room ) มักมีอุณหภูมิอยู่ที่ +4 ถึง 0 oC และในบางห้องอาจมีการควบคุมความชื้น สัมพัทธ์ด้วย ให้เหมาะกับการเก็บผัก,ผลไม้ประเภทนั้นๆ มีขนาดตั้งแต่ กว้าง 2 เมตร ยาว 3 เมตร สูง 2.5 เมตร ไปจนถึงขนาดใหญ่กว้าง 20 เมตร ยาว 30 เมตร สูง 9.0 เมตร ที่ใช้ในอุตสาหกรรมส่งออกและนำเข้าผัก,ผลไม้ ห้อง Chill ส่วนใหญ่จะใช้น้ำยาฟรีออน ( R22, R134a, R404a)ได้หลากหลายชนิด

ห้องเย็นสำหรับเก็บอาหารแช่แข็ง ( Cold Room )

ห้องเก็บอาหารแช่แข็ง ( Cold Room ) จะใช้อุณหภูมิอยู่ที่ -18 ถึง -25 oC เพื่อชะลอการเติบโตของจุลินทรีย์ ที่อยู่ในอาหาร ทำให้เก็บได้ยาวนาน โดยปกติถ้าสินค้าผ่านการแช่แข็งมาแล้ว และนำมาเก็บในห้องนี้ จะสามารถเก็บได้อย่างมากสุด ประมาณ 2 ปี ห้องเย็นประเภทนี้จะมีใช้อย่างมาก ในอุตสาหกรรมประมง, ปศุสัตว์ ส่วนใหญ่จะมีขนาดค่อนข้างใหญ่บางห้องยาวถึง 50 – 60 เมตร ก็มี และสูงถึง 9.0 เมตรมีใช้น้ำยาทั้งฟรีออน ( R22,R404a,R507 และแอมโมเนีย ( NH3))

ห้องเย็นสำหรับแช่แข็งแบบลมแรง ( Air Blast Freezer )

ห้องแช่แข็งแบบลมแรง ( Air Blast Freezer ) เป็นห้องที่สำคัญ ในอุตสาหกรรมการแปรรูปเนื้อสัตว์ต่างๆ เพราะเป็นห้องที่จะเปลี่ยนสภาพจากสินค้าสด เป็นสินค้าแช่แข็งคุณภาพสูง ทำให้เซลล์ในเนื้อสัตว์ไม่ฉีกขาด และมีความยืดหยุ่นของเนื้อสัตว์ ใกล้เคียงกับก่อนแช่แข็ง เพราะถ้านำสินค้าสด หรือเนื้อสัตว์ไปแช่แข็งที่ห้องเย็น-20 oC จำทะให้เซลล์ฉีกขาดเนื้อสัตว์ จะเละไม่น่ารับประทาน ปกติห้อง Air Blast Freezer จะมีอุณหภูมิตั้งแต่ – 35 ถึง -50 oC ใช้น้ำยาทั้งฟรีออน ( R404a,R507 หรือแอมโมเนีย ( NH3 ))

ห้องเย็นสำหรับไลน์ผลิต ( Processing Room )

ห้องผลิต ( Processing Room ) เป็นห้องที่ต้องควบคุมอุณหภูมิอยู่ที่ +16 ถึง +20 oC และควบคุมปริมาณ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในห้องด้วย ห้องนี้จะมีพนักงานทำงานอยู่ข้างใน จึงต้องออกแบบให้เหมาะสม กับสภาพการทำงาน และสินค้าแต่ละชนิด ห้องนี้ส่วนใหญ่จะใช้น้ำยาฟรีออน ( R22,R134a หรือใช้เป็นน้ำเกลือ (Brine))

ห้องเย็นสำหรับเพาะเมล็ดพันธ์ ( Growth Chamber )

ใช้สำหรับทดสอบ ความงอกของเมล็ดพันธ์พืชต่างๆอาทิ เมล็ดพันธ์ข้าวโพด,เมล็ดพันธ์ผัก,เมล็ดพันธ์ดอกไม้สวยงาม ซึ่งทางบริษัทได้ออกแบบ ให้เหมาะสมกับการทดสอบเมล็ดพันธ์ได้ทุกชนิด โดยมีการควบคุมตามหัวข้อนี้

  1. อุณหภูมิในห้อง
  2. ความชื้นสัมพัทธ์ในห้อง
  3. ระดับแสงสว่างภายในห้อง และควบคุมเวลาทำงานภายในห้องได้ตลอด 24 ชั่วโมง ใช้งานง่ายประหยัดค่าไฟ และการบำรุงรักษาต่ำ และที่สำคัญราคาถูกกว่าของต่างประเทศมากๆ

ห้องเย็นสำหรับรมยา ( Fumigation Room )

ในอุตสาหกรรมส่งออกผักและผลไม้ ของประเทศไทย ซึ่งมีการส่งออก ไปยังต่างประเทศค่อนข้างมาก จึงอาจก่อเกิดปัญหา เรื่องแมลง และไข่ ของแมลง อาจมีติดไปกับผักและผลไม้นั้นได้ ทางบริษัทจึงได้คิดค้นห้องรมยา ซึ่งสามารถใช้รมยาได้หลากหลายชนิด เช่น ฟอสฟีส ( Phosphine) และ เมทิลโบรไมค์ ( Methylbromide ) ทำให้มีความปลอดภัยในการรมยา ใช้งานง่ายมีการทดสอบการรั่วมาเป็นอย่างดี จึงมั่นใจได้ว่าจะไม่มีปัญหาการรั่วไหล ของสารเคมีอย่างแน่นอน และบริษัทยังได้ส่งออกห้องรมยาไปยังต่างประเทศด้วย ห้องรมยาที่บริษัทออกแบบ ติดตั้งง่ายราคาประหยัดคุ้มค่า

 

บทความหน้าเราจะมาพูดถึง เทคนิคประหยัดพลังงานห้องเย็น แบบง่ายๆ ของห้องเย็นครับ
ติดตามบทความดีๆได้อีกที่ www.intercooling.co.th

สนใจบริการออกแบบ ติดตั้ง ห้องเย็น Add Line หรือโทรหาเราที่ 0-2591-5431-3

ต้องการรายละเอียดเพิ่มเติม
หรือปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านห้องเย็น

Hotline : 081-9857063, 093-6392989

ช่างตรวจสอบห้องเย็น
small_c_popup.png

ส่งข้อความถึงเรา