สิ่งที่จำเป็นต้องรู้ การดูแลห้องเย็นขนาดเล็ก (มือใหม่ต้องอ่าน)

การตรวจสภาพก่อนเดินเครื่องทำความเย็น มีข้อพึงปฏิบัติดังนี้

  • เข้าไปในห้องเย็นตรวจดูสภาพที่คอล์ยเย็น โดยเฉพาะคอล์ยเย็น ไม่ให้มีสิ่งกีดขวางการหมุนของพัดลม
  • ออกจากห้องเย็นและปิดประตูห้องเย็นให้สนิท
  • ตรวจดูที่ชุดคอนเดนซิ่งยูนิตว่า มีสิ่งกีดขวางการหมุนของมอเตอร์คอมเพรสเซอร์และพัดลมของคอนเดนเซอร์หรือไม่ หากมีต้องกำจัดออก
  • ลองผลักสวิตซ์ “RESET” ของชุด HI-LO PRESSURE CONTROL ดู
  • ตรวจดูฟิวส์ของระบบไฟคอนโทรล และของระบบไฟเมนว่าอยู่ในสภาพปรกติหรือไม่ หากผิดปรกติต้องเปลี่ยนใหม่ให้เรียบร้อย
  • กดสวิตซ์ละลายน้ำแข็งด้วยวิธี MANUAL ที่ตัว CAREL เครื่องจะละลายน้ำแข็งเอง
  • การเปิดเดินเครื่องทำความเย็น มีขั้นตอนปฏิบัติดังนี้. –
  • หลังจากตรวจสภาพก่อนเดินเครื่องเรียบร้อยแล้วให้ยกเบรคเกอร์ (BREAKER) ของ MAIN POWER ที่จ่ายเข้าสวิทซ์บอร์ดไปที่ตำแหน่ง “ON” และยกเบรคเกอร์ในตู้สวิตซ์ควบคุมการทำงานไปที่ตำแหน่ง “ON” เช่นกัน
  • จากนั้นปิดฝาตู้ให้เรียบร้อย แล้วบิดสวิตซ์สีเขียวที่หน้าตู้ไปที่ตำแหน่ง “ON” ไฟสีเขียวหน้าตู้ จะสว่างขึ้นทันที รอประมาณ 4 นาที พัดลมคอยเย็นในห้องจะทำงานพร้อมกับชุดคอนเดนซิ่งยูนิต โดยอัตโนมัติ
  • ตรวจดูระดับน้ำมันในคอมเพรสเซอร์ที่ตาวัวดูน้ำมัน ต้องมีระดับน้ำมันไม่น้อยกว่า 1 ใน 2 ของตาวัว หากระดับต่ำกว่า 1 ใน 4 ต้องรีบหยุดเครื่อง และทำการเติมน้ำมันจนได้ระดับ จึงเริ่มทำการเดินเครื่องอีกครั้งหนึ่ง
  • เฝ้าดูการทำงานอีกสักครู่ ดูว่าอุณหภูมิของห้องเย็นเริ่มลดลงมาเรื่อยๆ จนถึงอุณหภูมิห้องตามที่ต้องการหรือไม่ หากไม่ลดลงมาเรื่อยๆ แสดงว่าต้องมีอะไรผิดปรกติ ให้เปิดประตูดูว่าพัดลมคอล์ยเย็นหมุนปรกติหรือไม่ และดูว่าเครื่องทำความเย็นมีเสียงดังผิดปรกติหรือไม่ แต่ถ้าอุณหภูมิลดลงเรื่อย ๆ ตามปรกติและไม่มีเสียงดังผิดปกติแล้วก็ไม่ต้องเฝ้าอีกต่อไป คงปล่อยให้เครื่องทำงานตามลำพังต่อไป

การทำงานของเครื่องทำความเย็นจะเป็นไปโดยอัตโนมัติดังนี้

เมื่อเครื่องทำความเย็นให้กับห้องเย็น จนอุณหภูมิลดลงมาถึงอุณหภูมิที่ต้องการแล้วเทอร์โมส-ตัทจะสั่งให้ชุดคอนเดนซิ่งยูนิตหยุดทำงานส่วนพัดลมคอล์ยเย็นในห้องเย็นยังทำงานอยู่จนเมื่ออุณหภูมิในห้องเย็นเพิ่มขึ้นจากเดิมประมาณ 3 ถึง 5 องศาเซลเซียส เทอร์โมสตัทจะสั่งต่อให้ชุดคอนเดนซิ่งยูนิตทำงานอีกครั้ง และเมื่ออุณหภูมิลดลงมาถึงอุณหภูมิที่ต้องการแล้วเทอร์โมสตัทจะสั่งให้ชุดคอนเดนซิ่งยูนิตหยุดทำงานอีก และจะวนเวียนอยู่เช่นนี้ไปเรื่อยๆ ตราบใดที่เราเปิดเครื่องทำความเย็นอยู่

แต่เมื่อเครื่องทำความเย็นไปได้ระยะเวลาหนึ่งประมาณ 4 ถึง 6 ชั่วโมง จะเกิดน้ำแข็งเกาะที่คอล์ยเย็น เนื่องจากไอน้ำในห้องเย็นกลั่นตัวเป็นหยดน้ำ และถูกทำความเย็นจนแข็งเกาะที่คอล์ย ดังนั้นในระบบจึงมี “DEFROST TIMER” ไว้สำหรับสั่งฮีตเตอร์ให้หยุดการทำงานทุกๆ 4 ถึง 6 ชั่วโมง ตามที่เราตั้งไว้ เพื่อขจัดน้ำที่เกาะคอล์ยเย็นออกไปโดยจะสั่งให้ชุดเครื่องทำความเย็นหยุดทำงานประมาณ 10 ถึง 15 นาที

และเมื่อครบเวลาก็จะสั่งหยุดการทำงานของฮีตเตอร์และสั่งให้ชุดเครื่องทำความเย็นทำงานต่อไป ทั้งนี้เพื่อให้ลมที่หมุนเวียนผ่านคอล์ยเย็นสามารถถ่ายเทความเย็นได้สะดวก ขณะที่ทำการละลายน้ำแข็งนี้ไฟโชว์สีแดงหน้าตู้จะสว่าง ไฟเขียวจะดับ

ในกรณีที่น้ำแข็งเกาะที่คอล์ยเย็นมากๆ และเมื่อใช้การละลายน้ำแข็งระบบอัตโนมัติแล้วไม่เพียงพอ ให้ช่วยละลายน้ำแข็งด้วยวิธี MANUAL โดยกดสวิตซ์ละลายน้ำแข็งที่ตัว CAREL ค้างไว้ 5 วินาที ไฟสีแดงจะสว่าง ไฟสีเขียวจะดับ เครื่องทำความเย็นจะหยุดทำงาน และฮีตเตอร์จะทำงานต่อไป เมื่อน้ำแข็งละลายหมด เครื่องทำความเย็นจะกลับมาทำงานเองตามปรกติ

หมายเหตุ  :

1. ห้ามทำการปรับแต่งเทอร์โมสตัท, เทอร์โมเอ็กซ์แพนชั่นวาล์ว, ดีฟรอสไทเมอร์, โอเวอร์โหลด, ไฮ – โลเพรสเชอร์คอนโทรล โดยพลการเด็ดขาด เพราะระบบได้ SET ไว้เรียบร้อยแล้ว

2. ขอให้ทำการดับเครื่องทันที หากมีสิ่งผิดปรกติดังต่อไปนี้.-

  • พัดลมคอล์ยเย็นหยุดหมุน โดยที่เครื่องทำความเย็นยังทำงานอยู่
  • พัดลมคอนเดนเซอร์หยุดหมุนโดยที่เครื่องทำความเย็นยังทำงานอยู่
  • มีเสียงดังผิดปรกติที่คอมเพรสเซอร์
  • มีน้ำแข็งจับขาวที่คอมเพรสเซอร์ทั้งลูก

การหยุดเดินเครื่องทำความเย็น

  • บิดสวิทซ์ควบคุมไปที่ตำแหน่ง “OFF” ไฟโชว์สีเขียวจะดับ และเครื่องทำความเย็นทุกส่วนจะหยุดทำงานทันที
  • เปิดฝาตู้และยกเบรคเกอร์ลงมาตำแหน่ง “OFF”

ข้อปฏิบัติในการใช้ห้องอย่างมีประสิทธิภาพ

  1. ทำการปิดประตูห้องเย็นเมื่อเข้าหรือออกจากห้องเย็นเพื่อป้องกันไม่ให้ความเย็นรั่วไหลและเครื่องทำความเย็นต้องทำงานหนักเกินไป
  2. เวลาเปิดประตูห้องเย็นไม่ควรรวบม่านพลาสติก เพราะจะทำให้ความเย็นรั่วออกไปภายนอกห้อง
  3. ตรวจเช็คห้องเย็นทุกครั้งก่อนทำการล็อคกุญแจด้านนอกเพื่อป้องกันคนติดค้างอยู่ภายใน
  4. กรณีที่ท่านติดค้างอยู่ภายในห้องเย็นและประตูห้องเย็นเปิดไม่ออก ท่านสามารถผลักลูกกระทุ้งที่บานประตูเพื่อให้ประตูเปิดออกได้
  5. ห้ามใช้สิ่งของกระแทกหรือชนประตูห้องเย็น เพราะจะทำให้บานประตูเสียหายได้
  6. ห้ามปรับอุปกรณ์ควบคุมโดยพลการ เพราะจะทำให้ระบบทำงานอัตโนมัติ และการทำงานของเครื่องทำความเย็นผิดปรกติ และเกิดความเสียหายแก่เครื่องทำความเย็น และผลิตภัณฑ์ที่เก็บไว้ภายในได้
  7. ห้ามนำสิ่งของต่างๆ ไปวางขวางทางระบายอากาศของชุดคอนเดนเซอร์
  8. ควรแจ้งช่างผู้ที่มีความชำนาญและให้ทำการแก้ไขทันทีที่ผิดปรกติ

ตารางแก้ไขเมื่อเกิดความผิดปกติ

ความผิดปรกติสาเหตุที่อาจเป็นไปได้การแก้ไข
1.)  ความดันทางท่อส่งสูงเกินไป           คอมเพรสเซอร์ที่ตัดแล้ว ต้อง        กดปุ่ม RESET ที่ HI-LO       PRESSURE CONTROLคอนเดนเซอร์สกปรกมีอากาศในระบบน้ำยาของคอนเดนเซอร์เปิดล้างทำความสะอาดไล่อากาศออกเสีย
2.) ความดันทางดูดต่ำกว่าปรกติน้ำยาในระบบรั่วมีการอุดตันที่เอ็กซ์แพนชั่นวาล์วและ DRIERเอ็กซ์แพนชั่นวาล์วเสียคอล์ยเย็นมีน้ำแข็งเกาะมากแก้ไขรอยรั่วแล้วเติมน้ำยาใหม่PUMP DOWN ถอดทำความสะอาด   PUMP DOWN ถอดเปลี่ยนใหม่ละลายน้ำแข็งที่คอล์ย
3.) คอมเพรสเซอร์มีเสียงผิดปรกติน้ำยาท่วมเข้าคอมเพรสเซอร์   ลิ้นทางดูดและทางส่งคอมเพรสเซอร์แตกและสั่นมากปรับเอ็กซ์แพนชั่นวาล์วหรือถอดเปลี่ยนใหม่ถอดเปลี่ยนใหม่
4.)โลว์เพรสเซอร์สวิทซ์ตัดโลว์เพรสเซอร์สวิทซ์เสียความดันทางดูดต่ำกว่าปรกติไดเออร์หรือสเตนเนอร์อุดตันถอดเปลี่ยนใหม่ดูความผิดปรกติของข้อ 2)ถอดเปลี่ยนใหม่
5.)ไฮเพรสเซอร์สวิทซ์ตัดเติมน้ำยามากเกินไปมีอากาศในวงจรน้ำยา   ความดันทางส่งสูงเกินไปวาล์วทางส่งน้ำยาตันปล่อยน้ำยาออกบ้างเล็กน้อยPUMP DOWN แล้วไล่อากาศในระบบดูความผิดปรกติในข้อ 1)ถอดเปลี่ยนใหม่
6.) อุปกรณ์ไฟฟ้ามีเสียงดังคอนแทคเตอร์เสียจุดต่อของสายไฟหลวมหน้าคอนแทคเตอร์สกปรกถอดเปลี่ยนใหม่ขันหรือต่อให้เรียบร้อยถอดทำความสะอาดหรือเปลี่ยนใหม่
7.) ระบบไฟฟ้าไม่ทำงานระบบอินเตอร์ล็อคเสียสายไฟขาดตรวจไล่ระบบใหม่เปลี่ยนใหม่ให้เรียบร้อย
8.) ส่วนอื่นมีเสียงดังขาคอมไม่นั่งสนิทบนแท่นเครื่องท่อสั่นยึดไม่แน่นเพิ่มจุดยึดหรือขันน็อตจุดยึดให้แน่นขยับหรือขันน็อตให้เรียบร้อย
       

รายละเอียดการบำรุงรักษาเครื่องจักร

รายการที่ 1.)  บำรุงรักษาระบบการทำงานทั่วไปของเครื่องจักรประจำเดือน

1.1   ตรวจเช็คน้ำยาทางด้าน HIGH SIDE และ LOW SIDE ของระบบน้ำยาว่าถูกต้องอยู่ในขอบเขตการใช้

        งานตามปรกติหรือไม่ มีปริมาณน้ำยาเพียงพอสำหรับการใช้งานดีแล้วหรือยัง

1.2   ตรวจเช็คความดันน้ำมัน (OIL PRESSURE) ที่ใช้สำหรับหล่อเลี้ยงตัวคอมเพรสเซอร์ว่าผิดปรกติ

        หรือไม่ มีปริมาณเพียงพอสำหรับการใช้งานดีแล้วหรือยัง

1.3   ตรวจวัดแรงดันไฟฟ้า (VOLTAGE) และกระแสไฟฟ้า (AMPERE) ที่ใช้ของเครื่องจักร ในขณะที

        ทำงานอยู่ว่า อยู่ในขอบเขตกำหนดที่ปลอดภัยหรือไม่

1.4  ตรวจเช็คระบบท่อน้ำยาว่า อยู่ในสภาพเรียบร้อยหรือมีรอยรั่วแตกหรือไม่ ตรวจสอบสภาพของฉนวน   

       หุ้มท่อน้ำยายังมีคุณสมบัติการใช้งานดีหรือไม่

1.5  ตรวจเช็คสภาพสายไฟ ตำแหน่งขั้วยึดสาย ข้อต่อสายไฟของอุปกรณ์ไฟฟ้าทั้งหมดว่ายังมีความคงทน

      ยึดแน่น และใช้งานได้อย่างปลอดภัยถูกต้องตามปรกติหรือไม่

ตรวจสอบอุปกรณ์ควบคุมต่างๆ ได้แก่

  • HI PRESSURE SWITCH
  • LOW PRESSURE SWITCH
  • MAGNETIC COIL AND CONTACTOR
  • OVERLOAD PROTECTION
  • OIL PRESSURE SWITCH
  • HEATER
  • TIMER
  • อุปกรณ์อื่นๆ ที่เป็นอุปกรณ์มาตรฐานของเครื่องจักรนั้นๆ ที่มีติดตั้งไว้

รายการที่ 2.)  บริการทำความสะอาดและรายการซ่อมแซมประจำปี

  • ทำความสะอาดแผงคอล์ยเย็นเพื่อไม่เกิดการอุดตันขวางทิศทางของลมที่ผ่านและให้มีผิวการระบาย

ถ่ายเทความร้อนเพียงพอ ทำให้เครื่องมีประสิทธิภาพในการทำงานดี 

2.2  ทำความสะอาดแผงคอล์ยร้อนเพื่อไม่ให้เกิดการอุดตันที่ทำให้เครื่องจักรไม่สามารถระบายความร้อนได้ดี

2.3  ทำความสะอาดแก้ไขท่อน้ำทิ้ง (DRAIN PIPE) ที่เกิดการอุดตัน

2.4  ตรวจเช็คแท่นยึดเครื่องและแท่นมอเตอร์ต่างๆ ให้ยึดได้มั่นคงและแข็งแรงเสมอ

2.5  ปรับตั้งความตึงของสายพาน และ ALIGNMENT ของ PULLE

       เห็นไหมครับว่าการดูแลห้องเย็นนั้น มีขั้นตอนมากพอสมควร เพื่อเป็นการยืดอายุให้ห้องเย็นของเรานั้นเกิดการเสื่อมสภาพน้อยที่สุด แถมยังทำให้ห้องเย็นของท่าน มีอุณหภูมิที่ชัดเจน จริงๆแล้วมือใหม่สามารถกดติดตามเราได้เลย เพราะเราจะลงข้อมูลให้ความรู้อย่างสม่ำเสมอ รับรองว่าท่าจะได้สาระข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับห้องเย็นอย่างแน่นอน

ต้องการรายละเอียดเพิ่มเติม
หรือปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านห้องเย็น

Hotline : 081-9857063, 093-6392989

ช่างตรวจสอบห้องเย็น
small_c_popup.png

ส่งข้อความถึงเรา