รู้หรือไม่ ? หน้าที่แผ่นฉนวนห้องเย็น (Sandwish Panel)

กราบสวัสดีผู้ติดตามที่เคารพรักทุกท่านครับ  เนื่องจากบทความที่แล้วเราได้พูดถึงเรื่องของห้องเย็น ว่าห้องเย็นมีกี่ประเภท และแต่ละประเภทใช้งานกันแบบใด ซึ่งหลายๆท่านก็อาจจะสงสัยอีกว่า แล้ววัสดุส่วนประกอบหลักๆที่มีในห้องเย็นนั้นมีอะไรบ้าง วันนี้ทีมงานของเราเลยจะมาอธิบายเกี่ยวกับ แผ่นฉนวนห้องเย็น ว่ามีความสำคัญและบทบาทหน้าที่อย่างไร ส่วนประกอบมีอะไรบ้าง เราจะอธิบายแบบเข้าใจง่ายๆ เป็นข้อๆก็แล้วกันครับ

แผ่นฉนวนห้องเย็น  (Sandwish Panel)

  1. ใช้สำหรับประกอบห้องเย็น (Cold Room)
  2. ใช้เป็นผนังและเพดานสำหรับไลน์ผลิตอาหาร
  3. ใช้ประกอบเป็นห้องบ่มใบยาสูบ
  4. ใช้ประกอบเป็นห้องอบลำไย
  5. ใช้ประกอบเป็นห้องสะอาด (Clean Room) สำหรับผลิตยาและเวชภัณฑ์
  6. ใช้ประกอบเป็นตู้เย็นติดรถกระบะ 4 ล้อ

 

แผ่นฉวนห้องเย็นประกอบด้วย ส่วนหลักๆ  3 ส่วน ดังนี้

 

1. แผ่นฉนวนห้องเย็นประกอบไปด้วย ส่วนประกอบหลักๆ ดังนี้

  • แผ่นเหล็กอบสี โดยใช้เหล็กแผ่นรีดร้อนนำมาผ่านกรรมวิธีรีดเย็น เพื่อให้ได้ความบางที่เราต้องการ เพราะกรรมวิธีผลิตเหล็กแผ่นรีดร้อนไม่สามารถทำให้บางมากๆ ได้  โดยแผ่นเหล็กจะมีความหนาอยู่ระหว่าง  4 – 0.45 มม. (BMT) และนำมาชุปสังกะสีให้ได้ความหนาตามต้องการและสุดท้ายอบด้วยสีขาวโพลี เอสเตอร์ (Polyester  White) เพี่อป้องกันสนิม โดยในปัจจุบันในวงการห้องเย็นจะมีการใช้เหล็กหลากหลายชนิด มีตั้งแต่เหล็กจากประเทศจีน,ไทย,เกาหลี  ซึ่งผู้บริโภคต้องระวังให้มาก เพราะราคาเหล็กแต่ละที่แตกต่างกันมาก
  • แผ่นสเตนเลส (Stainless Steel) โดยจะใช้แผ่นสเตนเลสเกรด 304 (SUS 304) กันเป็นส่วนใหญ่ และมีความหนาอยู่ที่ 0.4 – 0.45 มม. ถ้าผู้บริโภคต้องการแผ่นห้องเย็นเป็นสแตนเลส ต้องระมัดระวังเรื่องการหลุดของแผ่นสเตนเลสกับแผ่นโฟมไว้ด้วย เพราะผิวสแตนเลสที่ลื่นและมัน ทำให้กาวไม่สามารถยืดเกาะได้ดีเหมือนแผ่นเหล็ก

 

2. แผ่นโฟม จะมีการใช้ในปัจจุบันอยู่ 4 ชนิด คือ

  1. โพลีสไตรีน PS (Polystyrene Foam) เป็นโฟมที่นิยมใช้ที่สุด เพราะมีราคาถูก มีความหนาแน่นอยู่ที่ 1.25 ปอนด์/ตร.ฟุตและสามารถใช้กับอุณหภูมิต่ำได้ดี แต่มีข้อเสีย อาจมีน้ำซึมเข้าไปในโฟมได้
  2. โพลียูรีเทน PU (Polyurethane Foam) เป็นโฟมที่ค่อนข้างแพง มีความหนาแน่นอยู่ที่ 2.2 ปอนด์/ลบ.ฟุต ใช้ความหนาน้อยกว่าโฟมประเภทอื่น  ไม่เป็นที่นิยมใช้ทำห้องเย็นขนาดใหญ่ นิยมใช้ทำห้องเย็นขนาดเล็ก ประมาณ 2-3 ม.
  3. โพลีโอโซยานูเลด PIR (Polyisocyanurate Foam) เป็นโฟมที่มีคุณสมบัติพิเศษที่ไม่ติดไฟและไม่ลามไฟ มีราคาค่อนข้างแพงเมื่อเทียบกับโฟลีสไตรีน (PS)
  4. แผ่นฉนวนใยหิน (Rock Wool Pavec) เป็นวัสดุที่ทำมาจากใยหินธรรมชาติ นำมาผ่านการผลิตที่อุณหภูมิสูงถึง 1,300 °C หลอมเหลวให้เป็นใยและเคลือบด้วยสารพิเศษ ทำให้ทนความร้อนได้ดี ไม่ติดไฟ  ไม่ลามไฟ สามารถดูดซับเสียงได้ดี มีราคาค่อนข้างแพง ส่วนใหญ่จะนิยมใช้ในห้องที่มีความร้อนสูงๆ เช่นห้องอบ ต่างๆ

3. กาวประสาน (Urethane Glue)

ใช้กาวยูรีเทนเป็นตัวประสารระหว่างแผ่นโลหะกันฉนวนโฟม ทำให้มีการยึดเกาะกันค่อนข้างดีและไม่หลุดล่อน

 

เป็นยังไงกันบ้างครับ สำหรับความรู้เรื่องแผ่นฉนวนห้องเย็น และทีมงานหวังว่าผู้ติดตาม หรือลูกค้าทุกท่าน จะได้ความรู้จากบทความนี้ไปไม่มากก็น้อย และถ้าหากผิดพลาดประการใดทางทีมงานต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยนะครับ ส่วนบทความหน้าจะเป็นบทความเกี่ยวข้องกับอะไรนั้นต้องฝากติดตามกันด้วยนะครับ แล้วพบกันใหม่สวัสดีครับ

ต้องการรายละเอียดเพิ่มเติม
หรือปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านห้องเย็น

Hotline : 081-9857063, 093-6392989

ช่างตรวจสอบห้องเย็น
small_c_popup.png

ส่งข้อความถึงเรา